จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สร้างกุศลด้วยบุญกิริยาวัตถุ ตอน 1

บุญกิริยาวัตถุมี 2 หมวดครับ คือ  บุญกิริยาวัตถุ3 กับ บุญกิริยาวัตถุ10
     บุญกิริยาวัตถุ 3 หมายถึง การทำบุญ หรือ การทำความดี ซึ่งมีหลักการ 3 ประการ คือ 1. การให้ทาน 2. การรักษาศีล 3. การเจริญภาวนา
     บุญกิริยาวัตถุ 3 เป็นหลักแห่งการทำบุญ หรือหลักแห่งการทำความดี ที่เยาวชน พึงนำมาใช้ในวิถีชีวิต ประกอบด้วย
     1. การให้ทาน ได้แก่ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน เป็นการทำบุญ หรือ ทำความดี ที่สามารถลดความตระหนี่ หรือ เห็นแก่ตัวลงได้ ด้วยการเสียสละแบ่งปัน เกื้อกูล ผู้อื่นด้วยความเมตตา
     2. การรักษาศีล เป็นการประพฤติตนให้เรียบร้อยทางกาย วาจา ด้วยการปฏิบัติตามศีล 5 ข้อ ให้เป็นวิถีชีวิต เมื่อรักษาศีลให้สมบูรณ์แล้ว
     3. การเจริญภาวนา เป็นการพัฒนาตนเอง ด้วยการฝึกจิตใจให้อยู่ด้วยการมีสติ มีสมาธิ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร รู้จักคิดพิจารณา รู้จักผิดชอบชั่วดี
    สำหรับ บุญกิริยาวัตถุ3 กับ บุญกิริยาวัตถุ10 ก็ไม่ต่างกันหรอกครับ แค่แจกแจงรายละเอียดออกมามากน้อยต่างกัน
……………………………………………………………………………
    บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี)
  1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
  2. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย 
  3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ
……………………………………………………………………………
    บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี )
  1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
  2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
  3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
  4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
  5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ )
  6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
  7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น )
  8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
  9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ )
  10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)
ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โทษของการผิดศีล 5 ข้อ 1

ศีลข้อ ที่ 1 ปาณาติปาตาเวรมณี
      เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ถ้าไม่เว้นย่อมยังสัตว์ให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานในเปรตวิสัย
     การฆ่า คือ กรรม เมื่อสร้างเหตุปัจจัยไว้อย่างไร ผลของการฆ่า หรือ กฎแห่งการสะท้อนกลับ จะต้องเป็นไปเช่นเดียวกันกับเหตุที่ทำเอาไว้ คือ เมื่อถึงเวลาที่บาปกรรมนั้นส่งผล ตัวผู้ฆ่า จะต้องได้รับผลร้าย ประสพกับความลำบากเดือดร้อน เจอความวิบัติอุปัทวันตรายต่างๆ โรคภัยเบียดเบียน สูญเสียหรือพลัดพรากจากคนผู้เป็นที่รักทั้งหลายหรือ ทำให้อายุสั้นตายก่อนวัยสมควรเหมือนกัน 
      และเมื่อวิบากกรรมเริ่มเบาบางลงมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์อีกก็จะได้รับผลจากวิบากกรรมที่ผิดศีลข้อ1    9 ประการ คือ
      1. เป็นคนทุพพลภาพ
      2. เป็นคนรูปไม่งาม
      3. มีกำลังกายอ่อนแอ
      4. เป็นคนเฉื่อยชา
      5. เป็นคนขี้ขลาด
      6. เป็นคนที่ถูกผู้อื่นฆ่า หรือฆ่าตัวเอง
      7. มักมีโรคภัยเบียดเบียน
      8. ความพินาศเกิดกับบริวาร
      9. อายุสั้น และให้ผลติดต่อกันหลายชาติ


    ผลกรรมที่จะเกิดในชาตินี้ คือ
    1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
    2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
    3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
    4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
    5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
    6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร
     แนะนำหนทางทุเลา :
     ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน หรือซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ